การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมต้นยางพารา |
![]() |
![]() |
การปลูกยางพารา - การปลูกสร้างสวนยางพารา |
เขียนโดย Administrator |
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2011 เวลา 13:21 น. |
การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมต้นยาง
1. ชนิดใบกว้าง หรือใบใหญ่ – มีขนาดใบกว้างประมาณ 9 ซม. ปลายใบแหลม แต่ไม่เรียว เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก 2. ชนิดใบแคบหรือใบยาว – ใบมีขนาดประมาณ 5.5 ซม. ยาวประมาณ 18 ซม. 3. ชนิดใบเล็ก – ใบกว้างประมาณ 10 ซม. ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม ระยะปลูก ระยะปลูกระหว่างต้นยางนั้น ควรปลูกให้ห่างจากต้นยางข้างละ 2 เมตร ปลูกต้นเหมียงเป็นแถวคู่ ระยะปลูกของเหมียงนั้นจะใช้ระยะประมาณ 3 x 3 เมตร ขนาดหลุมปลูกกว้าง 50 ซม. ยาว 50 ซม. ความลึก 50 ซม. ควรแยกดินบนและดินล่าง ไว้คนละส่วนกัน ตากดินและหลุม ประมาณ 7-15 วัน ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตรองก้นหลุมในอัตรา 100 กรัม ต่อ 1 หลุม และใช้ปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินด้านบนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ให้พืชได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการเจริญเติบโตของต้นพืช จากนั้นนำต้นเหมียงมาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วกลบดินที่เตรียมไว้ ให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไม้มาปักหลัก ไม่ให้ต้นเหมียงล้ม ในช่วงแรกๆ เราควรหมั่นดูแลรดน้ำจนกว่าต้นเหมียงจะตั้งตัวได้ วิธีเก็บเกี่ยวผลผลิต: การใช้ประโยชน์ของเหมียงจะอยู่ที่ส่วนใบ ใบเหมียงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวควรเป็นส่วนยอดใบ การเด็ดใบเหมียง ควรเด็ดให้ชิดข้อ ไม่ควรเด็ดหรือตัดข้อกลางเพราะจะทำให้การแตกยอดใบอ่อนครั้งต่อไปช้า เมื่อเก็บเหมียงแล้วประมาณ 15 วันก็จะแตกยอดอ่อน แล้วอีก 15 วันนับจากวันแตกยอดอ่อน ก็จะเก็บผลผลิตจำหน่ายได้อีก รวมแล้ว 30 วัน ต่อการเก็บใบเหมียง 1 รอบ เมื่อเก็บยอดอ่อนเหมียงมาแล้ว ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดและลม พรมน้ำแต่พอชุ่ม จะสามารถเก็บให้สดอยู่ได้นาน 5-6 วัน ประโยชน์ของผักเหมียง : ผักเหมียงสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แกงเลียง แกงเผ็ด กะทิ ต้มจืด ผักรองห่อหมก ลวกจิ้มกับน้ำพริก กะปิ และผัดเผ็ดเป็นต้น ตัวอย่างการปลูกผักเหมียงร่วมยาง: นายสมนึก ชูแก้ว เลขที่ 6 หมู่ที่ 11 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปลูกยางพันธุ์ BPM 24 ระยะปลูกยาง 3×7 เมตร ปัจจุบันยางอายุ 10 ปี เมื่อยางอายุ 3 ปีปลูกผักเหมียงเป็นพืชร่วมระหว่างแถวยางระยะ 3×7 เมตร ในพื้นที่ 7 ไร่ไม่มีระบบการให้น้ำ(อาศัยน้ำฝน)ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาว 50 กิโลกรัม/ไร่/ปีและปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในปี 2548 ได้ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ย 800 กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้จากการขายน้ำยางเฉลี่ย 56,000 บาท/ไร่(เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70 บาท) รายได้จากผักเหมียงเฉลี่ย 18,514 บาท/ไร่ ผลผลิตหน้าสวนกิโลกรัมละ 40 บาท นอกจากนั้นจำหน่ายกิ่งชำถุงในปี 2548 ได้ 15,075 บาท เฉลี่ยไร่ละ 2,154 บาท ราคาต้นละ 15 บาท (รายละเอียดรายได้ตามตาราง )ต้นทุนปลูกผักเหมียงปีแรก 2,500 บาท/ไร่ เป็นค่าต้นพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าอุปกรณ์ |